Isaac Asimov นักชีวเคมี =)

12 มกราคม, 2010

                 ดร.ไอแซค อสิมอฟ (อังกฤษ: Isaac Asimov; รัสเซีย: Айзек Азимов Ayzek Azimov; IPA; 2 มกราคม พ.ศ. 2463-6 เมษายน พ.ศ. 2535) นักเขียนและนักชีวเคมีชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซียที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง มีชื่อเสียงรู้จักกันดีในฐานะนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ และหนังสือแนววิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ หนังสือชุดสถาบันสถาปนา รวมทั้งหนังสืออีก 2 ชุด นั่นคือ หนังสือชุดจักรวรรดิเอ็มไพร์ และ หนังสือชุดหุ่นยนต์ นอกจากนี้เขายังได้เขียนนิยายแนวลึกลับและแฟนตาซี รวมทั้งสารคดีอีกจำนวนมาก เขาได้เขียนหนังสือในหมวดใหญ่ๆ ของระบบทศนิยมดิวอี้ทุกแนวเนื้อหา เว้นก็แต่แนวปรัชญาเท่านั้น
                อสิมอฟถือเป็นนักเขียนรุ่นใหญ่ในบรรดานักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ โดยจัดอยู่ในแนวหน้า เช่นเดียวกับ โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ และอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ซึ่งถือเป็นผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม (Big Three) ในหมู่นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ในช่วงชีวิตของเขา

โครมาโทกราฟี *

5 มกราคม, 2010

โครมาโตรกราฟี เป็นวิธีทำสารให้บริสุทธิ์ หรือเป็นวิธีแยกสารออกจากกัน วิธีหนึ่ง
โครมาโตรกราฟีใช้แยกสารได้และใช้วิเคราะห์สารได้อีกด้วย ระยะทางที่สารเคลื่อนที่

อัตราการเคลื่อนที่ของสารบนตัวดูดซับ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายของสารนั้นใน ตัวทำละลาย และความสามารถในการถูกดูดซับของตัวดูดซับที่มีต่อสารนั้น

สารที่ละลายได้ดี และถูกดูดซับได้น้อย สารนั้นจะเคลื่อนที่ได้เร็ว
สารที่ละลายได้น้อย และถูกดูดซับได้ดี สารนั้นจะเคลื่อนที่ได้ช้า

ข้อดีของโครมาโตรกราฟี
1. แยกสารที่มีปริมาณน้อย ๆ ได้
2. ใช้ได้ทั้งในแง่ของคุณภาพวิเคราะห์และปริมาณวิเคราะห์
3. ใช้แยกสารหลาย ๆ ชนิด (อาจจะมีสีหรือไม่มีสีก็ได้) ที่ผสมกันอยู่ ออกจากกัน

ข้อจำกัดของโครมาโตรกราฟี
ไม่สามารถจะแยกสารที่เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน

ธาตุใหม่ชื่อว่า ‘copernicium’

4 มกราคม, 2010

             หลังจากการค้นพบมากว่า 13 ปี และได้ถูกเติมเข้าไปในตารางธาตุเมื่อสัปดาห์ก่อน ธาตุใหม่เลขที  j 112 ก็ได้รับการตั้งชื่อแล้ว โดยจะเรียกธาตุนี้ว่า “copernicium” และจะมีสัญลักษณ์ตัวย่อเป็น Cp ซึ่งชื่อนี้ตั้งเป็นเกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ Nicolaus Copernicus
             Copernicus เป็นคนที่สามารถสรุปได้ว่าดวงดาวนั้นหมุนรอบดวงอาทิตย์และสุดท้ายสามารถพิสูจน์จนหักล้างความเชื่อที่ว่าโลกนั้นเป็นศูนย์กลางของจักรวาลได้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบธาตุใหม่นี้ได้เลือกชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ชายผู้ซึ่งสามารถเปลี่ยนมุมมองของโลกได้
             สหภาพ เคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์นานาชาติ (IUPAC) จะรับรองธาตุใหม่อย่างเป็นทางการ 6 เดือนต่อครั้งเพื่อให้วงการวิทยาศาสตร์มีเวลาที่จะปรึกษาและให้คำแนะนำ นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยไอออนหนักในเยอรมันนี ได้ทำการค้นพบธาตุ copernicium ในการทดลองปฏิกิริยาฟิวชั่นในปี 1996  ซึ่งหลังจาก IUPAC ได้ทำการยืนยันการค้นพบธาตุใหม่อย่างเป็นทางการ นักวิจัยจึงมีความเห็นร่วมกันในการเสนอชื่อ เพราะต้องการให้เป็นเกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ที่มีความโดดเด่น
             Nicolaus Copernicus เกิดเมื่อปี 473 ที่ตูรัน ประเทศโปแลนด์ งานค้นพบของเขาคือการที่พบว่าดวงดาวโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดการสนับสนุนที่มากมายต่อวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แล้วการค้นพบดังกล่าวนำไปสู่การค้นพบแรงโน้มถ่วง และนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าดวงดาว นั้นอยู่ห่างไกลอย่างไม่น่าเชื่อ และจักรวาลนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะจินตนาการได้ ภายใต้กฏ IUPAC ทีมงานไม่สามารถตั้งชื่อธาตุใหม่เป็นชื่อบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ได้

 

 

มีสิ่งที่เล็กกว่าอะตอมหรือเปล่า ??

15 ธันวาคม, 2009

             ดาลตัน เสนอว่า อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม ภายในว่างเปล่า อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีสมบัติเหมือนกัน แต่ลักษณะอะตอมของตาลต้นไม่สามารถอธิบาย คำถามหรือข้อสงสัยบางอย่างได้ เช่น การเกิดไฟฟ้าสถิต ต่อมาจึงได้มีผู้ทดลองเพื่อค้นหาคำอธิบายกันอย่างมากมาย จนได้ข้อสรุปว่าภายในอะตอม จะประกอบด้วยอนุภาคมูลฐาน 3 ชนิด คือ อิเล็กตรอน (e) โปรตอน (p) และนิวตรอน (n) โดยมีแกนกลางที่ว่างขึ้นจากโปรตอนและนิวตรอน เรียกว่า นิวเคลียส และมีอิเล็กตรอนที่ว่องไววิ่งอยู่รอบ ๆ อนุภาคเหล่านี้จะจับยึดกันอยู่ด้วยแรงสองชนิดคือ แรงแม่เหล็ก ไฟฟ้า และแรงนิวเคลียร์
            หลังปี ค.ศ. 1960 นักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาพบว่า มีอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าอยู่ในโปรตอนและนิวตรอน ซึ่งได้รับการตั้งชื่อภายหลังว่า ควาร์ก (quark) ควาร์กมีขนาดเล็กกว่าโปรตอนประมาณ 1,000 เท่า และมีพลังงานจากประจุไฟฟ้า ประมาณ 1/3 – 2/3 ของโปรตอน ปัจจุบันเราพบควาร์กถึง 6 ชนิด ได้แก่ อัพ (up) ดาวน์ (down) สเตรนจ์ (Strenge) ชาร์ม (charm) ทอป (top) และ บอททอม (bottom)

อุตสาหกรรมเคมี :)

15 ธันวาคม, 2009
คำว่า อุตสาหกรรมทางเคมี ครอบคลุมไปถึงกิจกรรมอุตสาหกรรมมากมายหลายอย่าง อุตสาหกรรมที่ทำเครื่องเคมีทั้งหลายจะผลิตผลสำเร็จรูป เช่น พลาสติก สี ยารักษาโรค ผงซักฟอก วัตถุระเบิด ไยเทียม สีย้อมผ้า และยาฆ่าแมลง เป็นต้น
สารเคมีที่เป็นพื้นฐานและใช้ประโยชน์ได้มากสำคัญที่สุด คือ กรดกำมะถัน ซึ่งใช้ในกระบวนการทางเคมีมากมายนับตั้งแต่การทำปุ๋ยไปจนทำความสะอาดเหล็ก โซดาไฟที่ใช้ในการทำสบู่และทำสิ่งอื่นนั้น ก็ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับแอมโมเนียที่ใช้ในการทำปุ๋ย เคมีภัณฑ์เหล่านี้และอื่น ๆ มักเรียกว่าสารเคมีหนัก เพราะเหตุว่าผลิตออกมาเป็นปริมาณมาก ๆ ยารักษาโรคแทบทุกชนิด มีการผลิตเป็นจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับสารเคมีหนักพวกนี้เรียกว่า สารเคมีละเอียด
การอุตสาหกรรมเคมีใช้วัตถุดิบหลายอย่าง อาทิ หิน แร่ และถ่านหิน ซึ่งขุดมาจากใต้พื้นดิน และยังใช้ไม้ซุง และวัตถุดิบจากพืชอีกหลายชนิด ที่นับว่าสำคัญที่สุดก็คือ การอุตสาหกรรมเคมีต้องใช้น้ำมันดิบซึ่งเป็นหัวใจสองประการ คือ เป็นทั้งวัตถุดิบและเป็นเชื้อเพลิง ที่น่าวิตกก็คือ น้ำมันดิบอาจจะมีใช้กันต่อไปอีกไม่นาน
การอุตสาหกรรมเคมีใช้ขบวนการทางเคมีต่าง ๆ หลายอย่างเพื่อจะเปลี่ยนวัตถุดิบมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ วิธีการหนึ่งที่เรียกว่าการทำให้แตกตัว คือ การทำให้วัตถุที่มีองค์ประกอบยุ่งยากซับซ้อนกลายเป็นสิ่งที่มีองค์ประกอบง่ายขึ้น อีกวิธีหนึ่งตรงกันข้าม คือ ทำให้วัตถุที่มีองค์ประกอบง่าย ๆ กลายเป็นวัตถุที่มีองค์ประกอบซับซ้อน (polymerization)
การอุตสาหกรรมเคมีใช้ขบวนการทางฟิสิกส์ด้วย เช่น การประสม การกรอง การทำให้แห้ง ขบวนการเหล่านี้ช่วยทำให้วัตถุดิบมีประโยชน์ยิ่งขึ้น สำหรับทำผลิตภัณฑ์ทางเคมีและการค้า
งานค้นคว้าวิจัยเป็นหัวใจของการอุตสาหกรรมเคมี นักวิทยาศาสตร์จะเสาะหาขบวนการใหม่ ๆ หรือที่ดียิ่งขึ้นไป เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือดียิ่งขึ้น ถ้ากรรมวิธีไหนดูท่าว่าจะดี วิศวกรเคมีก็จะทำการทดสอบดู เขาจะออกแบบอุปกรณ์และสร้างโรงงานเล็ก ๆ ขึ้นทดลองทำดูก่อน เมื่อได้ผลว่าดี ก็จะทำกันต่อไปและสร้างโรงงานขนาดใหญ่ขึ้นเต็มรูป

วิวัฒนาการของวงการเคมี !!

24 พฤศจิกายน, 2009

วิวัฒนาการของวิชาเคมีแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

1.ยุคก่อนประวัติศาสตร์ – ค.ศ. 500

ชาวอียิปต์เป็นชนชาติแรกที่รู้จักใช้วิธีการทางเคมี และคำว่า Chemeia มีปรากฏในภาษาอียิปต์
เดโมคริตัส (นักปราชญ์ชาวกรีก) แสดงความคิดเห็นในเรื่องโครงสร้างของสารโดยคิดหาเหตุผลเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ทำการทดลองประกอบให้เห็นจริง
อริสโตเติล รวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับสสาร โดยสรุปว่า สสารต่างๆ ประกอบขึ้นด้วยธาตุ 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในสัดส่วนที่ต่างกันสำหรับสสารที่ต่างชนิดกัน

2.ยุคการเล่นแร่แปรธาตุ ค.ศ. 500 – ค.ศ. 1500

นักเคมีสนใจในเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุให้เป็นทองคำ แต่ไม่ค่อยพบความสำเร็จเลย ประมาณ ค.ศ. 1100
ความรู้ทางเคมีได้แพร่เข้าสู่ยุโรป ในปลายยุคนี้นักเคมีล้มเลิกความสนใจการเล่นแร่แปรธาตุ
เริ่มสนใจค้นคว้าหายาอายุวัฒนะที่ใช้รักษาโรค

3.ยุคการเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะ (ค.ศ. 1500 – 1600)

เป็นยุค Latrochemistry
นักเคมีพยายามค้นคว้าหายาอายุวัฒนะและบรรดายารักษาโรคต่างๆ

4.ยุคปัจจุบัน (ค.ศ. 1627 – 1691)

เริ่มต้นจาก Robert Boyle “ศึกษาเคมีเพื่อเคมี”
Robert Boyle “ศึกษาเคมีเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเคมีโดยเฉพาะ”และ”ใช้วิธีการทดลองประกอบการศึกษาเพื่อทดสอบความจริงและทฤษฎีต่างๆ”
เลิกล้มทฤษฎีของอริสโตเติลที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ
ลาวัวซิเยร์ (ค.ศ. 1743 – 1794) เป็นผู้ริเริ่มเคมียุคปัจจุบัน
สตาฮ์ล (Stahl : ค.ศ. 1660 – 1734) ตั้งทฤษฎีฟลอจิสตัน (Phlogiston Theory)
ลาวัวซิเยร์ ตั้งทฤษฎีแห่งการเผาไหม้ขึ้น ยังผลให้ทฤษฎีฟลอจิสตันต้องเลิกล้มไป
John Dalton (ค.ศ. 1766 – 1844) ตั้งทฤษฎีอะตอม ซึ่งเป็นรากฐานของเคมีสมัยใหม่ แต่ทฤษฎีอะตอมก็ต้องล้มเลิกไป เนื่องจากอะตอมที่แสดงพฤติกรรมได้ทั้งอนุภาคและคลื่น

 

เคมี : Chemistry ??

24 พฤศจิกายน, 2009

         เคมี คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร ความสามารถของสสาร การแปรรูปของสสาร และการปฏิสัมพันธ์กับพลังงานและสสารด้วยกันเอง เนื่องจากความหลากหลายของสสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอะตอม นักเคมีจึงมักศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ และการจัดเรียงอะตอมเพื่อรวมตัวกันเป็นโมเลกุล เช่น แก๊ส โลหะ หรือผลึกคริสตัล เคมีปัจจุบันได้ระบุว่าโครงสร้างของสสารในระดับอะตอมนั้นถือเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสสารทุกชนิด

         คำว่าเคมีในภาษาอังกฤษคือ chemistry ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีก คำว่า χημεία

น้ำแข็งติดไฟ..

24 พฤศจิกายน, 2009

       น้ำแข็งติดไฟ หรือ น้ำแข็งมีเทน เป็นสารผสมระหว่างแก๊สธรรมชาติและน้ำ ค้นพบใน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน 

ทั้งนี้ น้ำแข็งติดไฟเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง สามารถใช้ทดแทนพลังงานอื่นๆ อาทิ ปิโตรเลียม คาร์โบเนียน เป็นต้น  ซึ่งน้ำแข็งติดไฟนี้ พบอยู่มากในบริเวณใต้ทะเลและเขตน้ำค้างแข็ง เกิดจากการที่ก้อนน้ำแข็งฝอยตกอยู่ภายใต้แรงกดดันสูงของผิวโลกและอุณหภูมิที่ต่ำ ได้ตกผลึกเกาะตัวกัน เป็นเครือข่าย และมีช่องว่างให้แก๊สอื่นๆแทรกตัวอยู่ มีลักษณะเป็นก้อนผลึกสีขาว คล้ายหิมะน้ำแข็ง ก้อนสารผสมระหว่างแก็สธรรมชาติกับน้ำขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร สามารถปล่อยพลังงานแก๊สธรรมชาติออกมา 164 ลูกบาศก์เมตร
      
        จากการสำรวจ จีนมีแหล่งน้ำแข็งติดไฟ 3 แห่งกระจายตัวอยู่ในทะเลจีนใต้ และทะเลตะวันออกของประเทศ และมีแผนดำเนินการขุดเจาะน้ำแข็งติดไฟระหว่างปี 2010-2015 และจะดำเนินการขุดเจาะเชิงพาณิชย์ในปี 2020
      
       ทั้งนี้ จีนเป็นประเทศที่ 4 ตามหลังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอินเดีย ที่ค้นพบขุมพลังงานน้ำแข็งติดไฟนี้….

Dmitriy Mendeleyev : ผู้คิดค้นตารางธาตุคนแรกของโลก ..

24 พฤศจิกายน, 2009

         ดมีตรี อีวาโนวิช เมนเดเลเยฟ ( Dmitriy Ivanovich Mendeleyev ) เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1834 – ถึงแก่กรรม วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1907 ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

         เมนเดเลเยฟเป็นนักเคมีชาวรัสเซีย เขาได้รับการยกย่องมีฐานะบุคคลแรกที่สร้างตารางธาตุสำหรับธาตุเคมีฉบับแรกขึ้นมา แต่เมเดลีฟนั้นมีความคิดแตกต่างจากผู้เขียนตารางธาตุคนอื่นๆ นั่นคือ เขาได้ทำนายคุณสมบัติของธาตุต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้ค้นพบด้วย และนอกจากการทุ่มเทให้กับการวางแบบแผนตารางธาตุและเคมีแล้ว เขายังให้ความสนใจปัญหาสังคมด้วย

Maria Curie : ผู้คนพบแร่เรเดียม…

24 พฤศจิกายน, 2009

        มารี กูรี (Maria Skłodowska-Curie) (7 พฤศจิกายน 2410 – 4 กรกฎาคม 2477) นักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้มารี กูรีได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน

       มารี เป็นชาวโปแลนด์ บิดาเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ และมักพาเธอมาที่ห้องทดลองเสมอ จึงทำให้เธอสนใจวิชาด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก จนในปี พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) เธอก็สามารถสกัดแร่เรเดียมให้บริสุทธิ์ได้ เรียกว่า เรเดียมคลอไรด์ ที่สามารถแผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียมถึง 2,000,000 เท่า มีคุณสมบัติคือ ให้แสงสว่าง และความร้อนได้ และเมื่อแร่นี้แผ่รังสีไปถูกวัตถุอื่น วัตถุนั้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตรังสี และสามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันกับแร่เรเดียม จนทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบล ต่อมาเธอการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแร่เรเดียมอย่างหนัก และต่อเนื่องกว่า 4 ปี จนทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลอีก…