Nuclear Power

24 พฤศจิกายน, 2009

       พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ 
          – นิวเคลียร์ เป็นคำคุณศัพท์ของคำว่า นิวเคลียส ซึ่งเป็นแก่นกลางของอะตอมธาตุ ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน และนิวตรอน ซึ่งยึดกันได้ด้วยแรงของอนุภาคไพออน

      พลังงานนิวเคลียร์ หมายถึง พลังงานไม่ว่าลักษณะใดๆก็ตาม ซึ่งเกิดจากนิวเคลียสอะตอมโดย

1.พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น (Fission) ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโทเนียม เมื่อถูกชนด้วยนิวตรอนหรือโฟตอน
2.พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (Fusion) เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน
3.พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี (Radioactivity) ซึ่งให้รังสีต่างๆ ออกมา เช่น อัลฟา เบตา แกมมา และนิวตรอน เป็นต้น 
4.พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการเร่งอนุภาคที่มีประจุ (Particle Accelerator) เช่น อิเล็กตรอน โปรตอน ดิวทีรอน และอัลฟา เป็นต้น

      พลังงานนิวเคลียร์ บางครั้งใช้แทนกันกับคำว่า พลังงานปรมาณู นอกจากนี้พลังงานนิวเคลียร์ยังครอบคลุมไปถึงพลังงานรังสีเอ็กซ์ด้วย ( พ.ร.บ. พลังงานเพื่อสันติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2508 ) พลังงานนิวเคลียร์ สามารถปลดปล่อยออกมาเป็นพลังงานหลายรูปแบบ เช่น พลังงานความร้อน รังสีแกมมา อนุภาคเบต้า อนุภาคอัลฟา อนุภาคนิวตรอน เป็นต้น

Svante Arrhenius : ผู้คิดค้นทฤษฏีกรด-เบส…

24 พฤศจิกายน, 2009

      สวานเต ออกัส อาร์เรเนียส (Svante August Arrhenius -19 กุมภาพันธ์, พ.ศ. 2402 – 12 ตุลาคม, พ.ศ. 2470)  นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน เดิมเป็นนักฟิสิกส์ แต่ส่วนใหญ่ในวงการยอมรับและเรียกอาร์เรเนียสว่าเป็นนักเคมี

ผลงานเด่น †

1.ผู้ริเริ่มใช้คำว่า สภาวะเรือนกระจก และยังได้ทำนายว่า การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลจะเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์ในบรรยากาศ และนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิบรรยากาศโลก

2.ในปี ค.ศ. 1884 ได้เสนอวาทนิพนธ์ (dissertation) ต่อมหาวิทยาลัยแห่งอัปป์ซาลา (The University of Uppsala) โดยได้เสนอว่า ภายใต้อิทธิพลของกระแสไฟฟ้า โมเลกุลจะแตกตัวเป็นอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่มีประจุ พวกที่มีประจุลบคือแอนไอออนจะถูกดูดไปยังขั้วไฟฟ้าบวก ขณะที่พวกที่มีประจุบวกคือ แคทไอออนก็ถูกดูดไปยังขั้วไฟฟ้าลบ และต่อมาในปี ค.ศ. 1903 อาร์เรเนียสก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากวาทนิพนธ์เรื่องเดียวกันนี้เอง

3.ในปี ค.ศ. 1887 อาร์เรเนียสเป็นผู้ตั้งทฤษฎีโดยให้นิยามว่า ” กรด (Acid) คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+) ” เช่น HCl, HNO3, H2SO4, CH3COOH เป็นต้น และ  ” เบส (Base) คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) ” เช่น NaOH, KOH เป็นต้น

4.ในปี ค.ศ. 1889 อาร์เรเนียสได้ตั้งสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าคงตัวของอัตราการเกิดปฏิกิริยากับ เรียกว่า แฟกเตอร์ของอาร์เรเนียส (Arrhenius’ factor หรือ frequencyfactor) เป็นค่าคงตัวที่เป็นผลจากความถี่ของการชนกันและภาวะการวางทิศในการเข้าชนกันของโมเลกุลตัวทำปฏิกิริยา ตัวทำปฏิกิริยาจะมีการใช้พลังงาน(ดูดความร้อน) เพื่อสลายพันธะโดยการเปลี่ยนพลังงานจลน์ที่เกิดจากการชนกันของโมเลกุลตัวทำปฏิกิริยา ถ้าโมเลกุลมีพลังงานจลน์มากก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นและจากทฤษฎีจลน์เชิงโมเลกุลของแก๊สพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลแปรผันกับอุณหภูมิแสดงว่าอุณหภูมิจะต้องแปรผันกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา และจากกฎอัตรา ค่าคงตัวของปฏิกิริยาสามารถบอกถึงอัตราการเกิดปฏิกิริยา..

ZodaFireS !!

24 พฤศจิกายน, 2009

     โซดาไฟ (Caustic soda) หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (sodium hydroxide) เป็นด่างแก่ที่ละลายได้ในน้ำ ผลิตได้จากกระบวนการแยกสารทางไฟฟ้า(Electrolysis) ของน้ำเกลือ เป็นสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทางอุตสาหกรรม

      โซดาไฟถูกใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ

Periodic Table !!

24 พฤศจิกายน, 2009

คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412 จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่างๆของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีสักษณะคล้ายกันเป็นช่วงๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วย