Archive for มกราคม, 2010

Isaac Asimov นักชีวเคมี =)

12 มกราคม, 2010

                 ดร.ไอแซค อสิมอฟ (อังกฤษ: Isaac Asimov; รัสเซีย: Айзек Азимов Ayzek Azimov; IPA; 2 มกราคม พ.ศ. 2463-6 เมษายน พ.ศ. 2535) นักเขียนและนักชีวเคมีชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซียที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง มีชื่อเสียงรู้จักกันดีในฐานะนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ และหนังสือแนววิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ หนังสือชุดสถาบันสถาปนา รวมทั้งหนังสืออีก 2 ชุด นั่นคือ หนังสือชุดจักรวรรดิเอ็มไพร์ และ หนังสือชุดหุ่นยนต์ นอกจากนี้เขายังได้เขียนนิยายแนวลึกลับและแฟนตาซี รวมทั้งสารคดีอีกจำนวนมาก เขาได้เขียนหนังสือในหมวดใหญ่ๆ ของระบบทศนิยมดิวอี้ทุกแนวเนื้อหา เว้นก็แต่แนวปรัชญาเท่านั้น
                อสิมอฟถือเป็นนักเขียนรุ่นใหญ่ในบรรดานักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ โดยจัดอยู่ในแนวหน้า เช่นเดียวกับ โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ และอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ซึ่งถือเป็นผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม (Big Three) ในหมู่นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ในช่วงชีวิตของเขา

โครมาโทกราฟี *

5 มกราคม, 2010

โครมาโตรกราฟี เป็นวิธีทำสารให้บริสุทธิ์ หรือเป็นวิธีแยกสารออกจากกัน วิธีหนึ่ง
โครมาโตรกราฟีใช้แยกสารได้และใช้วิเคราะห์สารได้อีกด้วย ระยะทางที่สารเคลื่อนที่

อัตราการเคลื่อนที่ของสารบนตัวดูดซับ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายของสารนั้นใน ตัวทำละลาย และความสามารถในการถูกดูดซับของตัวดูดซับที่มีต่อสารนั้น

สารที่ละลายได้ดี และถูกดูดซับได้น้อย สารนั้นจะเคลื่อนที่ได้เร็ว
สารที่ละลายได้น้อย และถูกดูดซับได้ดี สารนั้นจะเคลื่อนที่ได้ช้า

ข้อดีของโครมาโตรกราฟี
1. แยกสารที่มีปริมาณน้อย ๆ ได้
2. ใช้ได้ทั้งในแง่ของคุณภาพวิเคราะห์และปริมาณวิเคราะห์
3. ใช้แยกสารหลาย ๆ ชนิด (อาจจะมีสีหรือไม่มีสีก็ได้) ที่ผสมกันอยู่ ออกจากกัน

ข้อจำกัดของโครมาโตรกราฟี
ไม่สามารถจะแยกสารที่เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน

ธาตุใหม่ชื่อว่า ‘copernicium’

4 มกราคม, 2010

             หลังจากการค้นพบมากว่า 13 ปี และได้ถูกเติมเข้าไปในตารางธาตุเมื่อสัปดาห์ก่อน ธาตุใหม่เลขที  j 112 ก็ได้รับการตั้งชื่อแล้ว โดยจะเรียกธาตุนี้ว่า “copernicium” และจะมีสัญลักษณ์ตัวย่อเป็น Cp ซึ่งชื่อนี้ตั้งเป็นเกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ Nicolaus Copernicus
             Copernicus เป็นคนที่สามารถสรุปได้ว่าดวงดาวนั้นหมุนรอบดวงอาทิตย์และสุดท้ายสามารถพิสูจน์จนหักล้างความเชื่อที่ว่าโลกนั้นเป็นศูนย์กลางของจักรวาลได้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบธาตุใหม่นี้ได้เลือกชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ชายผู้ซึ่งสามารถเปลี่ยนมุมมองของโลกได้
             สหภาพ เคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์นานาชาติ (IUPAC) จะรับรองธาตุใหม่อย่างเป็นทางการ 6 เดือนต่อครั้งเพื่อให้วงการวิทยาศาสตร์มีเวลาที่จะปรึกษาและให้คำแนะนำ นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยไอออนหนักในเยอรมันนี ได้ทำการค้นพบธาตุ copernicium ในการทดลองปฏิกิริยาฟิวชั่นในปี 1996  ซึ่งหลังจาก IUPAC ได้ทำการยืนยันการค้นพบธาตุใหม่อย่างเป็นทางการ นักวิจัยจึงมีความเห็นร่วมกันในการเสนอชื่อ เพราะต้องการให้เป็นเกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ที่มีความโดดเด่น
             Nicolaus Copernicus เกิดเมื่อปี 473 ที่ตูรัน ประเทศโปแลนด์ งานค้นพบของเขาคือการที่พบว่าดวงดาวโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดการสนับสนุนที่มากมายต่อวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แล้วการค้นพบดังกล่าวนำไปสู่การค้นพบแรงโน้มถ่วง และนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าดวงดาว นั้นอยู่ห่างไกลอย่างไม่น่าเชื่อ และจักรวาลนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะจินตนาการได้ ภายใต้กฏ IUPAC ทีมงานไม่สามารถตั้งชื่อธาตุใหม่เป็นชื่อบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ได้